ระบบเศรษฐกิจ
1 การเกษตร
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรม ได้แก่ ทำนาข้าว ทำข้าวไร่ ข้าวโพด
ส้มสีทอง เงาะ ลิ้นจี่ ลำไย กาแฟ ปลูกพืชผลเมืองหนาว ทำสวนยางพารา และปลูกผัก ที่เหลือ
ประกอบอาชีพรับจ้างและทำธุรกิจส่วนตัว โดยแยกพื้นที่เพาะปลูกดังนี้
- ข้าวโพด ประมาณ 3,164.26 ไร่
-
ข้าวไร่ ประมาณ 700.50 ไร่
-
ข้าวเหนียว ประมาณ 1,719.96 ไร่
- ข้าวเจ้า ประมาณ 685.50 ไร่
- เงาะ ประมาณ 5,042.73 ไร่
- ส้มสีทอง ประมาณ 2,374.18 ไร่
- กาแฟพันธุ์อาราบิก้า ประมาณ 584 ไร่
2 การประมง
ประชาชนในพื้นที่จะขุดสระไว้สำหรับเลี้ยงปลา ไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือนเท่านั้น
3 การปศุสัตว์
-
4 การบริการ
-
5 การท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของตำบลงอบ ได้แก่
1. หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยสะแตง
สถานที่ตั้ง บ้านห้วยสะแตง หมู่ที่ 2 ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
2. ถ้ำผาผึ้ง
สถานที่ตั้ง บ้านมณีพฤกษ์ หมู่ที่ 11 ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน อยู่ระหว่าง
เส้นทางไปหมู่บ้านมณีพฤกษ์ ห่างจากสำนักงาน พมพ.
ประมาณ ๑ กิโลเมตร ห่างจากจากถนน ๑๐๐
เมตร
สภาพป่าระหว่างเส้นทางที่เดินเข้าไปยังสมบูรณ์มาก เป็นป่าดิบ
มีต้นเต่าร้างขึ้นอยู่ตลอดทาง
ปากถ้ำผาผึ้งกว้างประมาณ ๔๐ เมตร สูงประมาณ ๒๐
เมตร ต้องเดินลงไปอีก ๒๕ เมตรจึงถึงพื้นถ้ำ
ช่วงต้นของถ้ำจะเป็นโถขนาดใหญ่มากสูงประมาณ ๒๐
เมตร จะมีน้ำย้อยไหลลงมาจากเพดานถ้ำตลอด
จนเกิดเป็นชั้นหิน มองดูเหมือนน้ำตก
ไหลต่อลงไปเรื่อย ๆ และยังมีหินย้อยที่สวยงาม เดินเข้าไปข้างใน
จนสุดถ้ำเป็นระยะทางประมาณ ๔๐๐ เมตร
ยังมีอากาศหายใจอยู่ บริเวณปลายถ้ำจะมีช่องซึ่งกว้าง
ประมาณ ๒๐ - ๓๐
เซนติเมตร ภายใต้ช่องจะได้ยินเสียงน้ำไหลผ่านลึกลงไปอีกซึ่งเป็นปรากฏการณ์
ที่แปลกมาก ในสมัยก่อนถ้ำผาผึ้งแห่งนี้
ใช้เป็นที่หลบภัยของชาวบ้าน สามารถจุคนได้หลายร้อยคน
3. ดอยผาผึ้ง
สถานที่ตั้ง บ้านมณีพฤกษ์ หมู่ที่ 11 ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน อยู่บริเวณ
หมู่บ้านมณีพฤกษ์ เป็นภูเขาหินปูนสูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๖๐๐ เมตร
ซึ่งไม่มีต้นไม้ใหญ่มากนัก
ส่วนมากจะเป็นทุ่งหญ้าคา มีลักษณะเหมือนดอยภูแว สามารถชมบรรยากาศพระอาทิตย์ขึ้นและตก
ได้อย่างสวยงาม
ชมทัศนียภาพของอำเภอบ่อเกลือ อีกทั้งยังสามารถเห็นสันดอยภูแวและดอยช่อได้
จากปากทางต้องเดินเท้า ๒๐
นาทีเลาะไปตามไหล่เขาเป็นธรรมชาติที่งดงาม นอกจากนี้ยังมี จุดชม
วิวภูหัวล้าน สามารถมองเห็นอำเภอต่าง ๆ ได้แก่ เชียงกลาง
ทุ่งช้าง เฉลิมพระเกียรติ ถ้ำภูหัวล้าน
เป็นถ้ำที่ใช้อยู่กินของทหารไทยสมัยก่อนอยู่บริเวณใกล้
ๆ ฐานปฏิบัติการ การเดินทาง ไปตามทาง
หลวงหมายเลข ๑๐๘๐ จากบ้านนาหนุน กม.ที่ ๗๗-๗๘
แยกขวาเข้าเส้นทางสู่บ้านมณีพฤกษ์ สภาพ
เส้นทางเป็นทางลาดชันคดเคี้ยวตามไหล่เขา
เป็นทางลูกรังสลับลาดยาง ควรใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ
สภาพดี ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๒ ชั่วโมง
4. ถ้ำผาแดง
สถานที่ตั้งบ้านมณีพฤกษ์ หมู่ที่ 11 ตำบล ในอดีตเป็นฐานที่ตั้งและที่หลบภัยของฝ่ายตรงข้าม
ซึ่งตั้งอยู่ในทำเลที่ได้เปรียบ
ทางยุทธศาสตร์ ลักษณะเป็นภูเขาสูง และป่าทึบ อากาศขึ้นหนาวเย็นมาก
ในช่วงฤดูหนาว
ปัจจุบันสภาพป่ายังเหมือนสมัยที่มีการสู้รบ เนื่องจากยังไม่มีการพัฒนา ภายในถ้ำ
ยังปรากฏร่องรอยของที่พัก
เตียงนอนของทหารป่า เตียงนอนคนไข้ บางเตียงยังอยู่ในสภาพ ที่ใช้ได้
หลุมที่ฝังซ่อนอาวุธ
เศษถาดอาหาร(ถาดหลุม)และเครื่องใช้การเดินทางท่องเที่ยวต้องเดินเท้า
ประมาณ 3 ชั่วโมง ลัดเลาะ ตามเนินเขาซึ่งจะได้ชมความสวยงามของธรรมชาติ
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
ต่าง ๆ
บ้านของชาวเขาเผ่าม้ง ที่อาศัยอยู่ อย่างธรรมชาติ กลางหุบเขา
5. ดอกชมพูภูคา
ต้นดอกชมพูภูคาเป็นพันธุ์ไม้ใกล้สูญพันธุ์ของโลก
ชมพูภูคา เป็นพืชหายากใกล้สูญพันธุ์ที่มีดอก
สีชมพูอมขาวงดงาม
ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานให้ ชมพูภูคา
เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
ชมพูภูคาถูก
ค้นพบและเปิดเผยขึ้นราวเดือนกุมภาพันธ์
2532
ของ ดร.ธวัชชัย สันติสุข ผู้เชี่ยวชาญพฤกษศาสตร์
ป่าไม้
ของกรมป่าไม้ ได้สำรวจพบต้นไม้พันธุ์หายากที่คาดว่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว
คือ ต้นไบร์ทชไนเดอร์
ชิเนนชีส (BRETSCHNEIDERA SINENSIS) กำลังผลิตดอกสีชมพูอมขาวงดงาม
ตั้งตรงเป็นกลุ่มยาวราว 30 เซนติเมตร และได้ตั้งชื่อจากการค้นพบครั้งแรกในเมืองไทยว่า
"ดอกชมพูภูคา"
ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคมของทุกปี ต้นดอกชมพูภูคา
ครั้งหนึ่งเชื่อกัน
ว่ามีไม่กี่ต้นในพื้นที่ดอยภูคา
แต่ภายหลังมีการค้นพบต้นชมพูภูคา
ในป่าของจังหวัดน่าน ที่มีความสูง
ในการเจริญเติบโต
ในหลายพื้นที่ และมีจำนวนหลักสิบและเป็นร้อยต้น
6 อุตสากรรม
-
7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
- กลุ่มถักไม้กวาด หมู่ที่ 2 บ้านห้วยสะแตง
- กลุ่มทอผ้า หมู่ที่ 4 บ้านทุ่งสุน
- กลุ่มเพาะเห็ด หมู่ที่ 4
บ้านทุ่งสุน
- กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเศษผ้า
หมู่ที่ 5 บ้านงอบเหนือ
- กลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
หมู่ที่ 6 บ้านน้ำลาด
- กลุ่มยางพาราตำบลงอบ
หมู่ที่ 10 บ้านใต้ร่มโพธิ์ทอง
8 แรงงาน
9 ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
1 การนับถือศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยมีข้อมูลศาสนสถาน ดังนี้
- วัด จำนวน 3 แห่ง ได้แก่
1. วัดศรีดอนชัย
สถานที่ตั้ง บ้านใต้ร่มโพธิ์ทอง หมู่ที่
10 ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
2. วัดทุ่งสุน สถานที่ตั้ง บ้านทุ่งสุน หมู่ที่ 4 ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
3. วัดมณีพฤกษ์ สถานที่ตั้ง บ้านมณีพฤกษ์ หมู่ที่ 11 ตำบลงอบ
อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
-
สำนักสงฆ์ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
1. อาศรมพระธรรมจาริกบ้านห้วยสะแตง ที่ตั้ง บ้านห้วยสะแตง หมู่ที่ 2 ตำบลงอบ
อำเภอทุ่งช้าง
จังหวัดน่าน
2.
สำนักสงฆ์บ้านภูคำ หมู่ที่ 3 ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
2 ประเพณีและงานประจำปี
ตำบลงอบมีประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ
ได้แก่
1. การสืบสานประเพณีไตลื้อและชนเผ่า จัดขึ้นโดยมีวัถุประสงค์เพื่อเป็นการอนุรักษ์ และสืบสาน
ประเพณีประเพณีไตลื้อและชนเผ่า ของกลุ่มชาติพันธุ์ในตำบลงอบ ประกอบด้วย ไตลื้อ ม้ง
ถิ่น (ลั๊วะ) และขมุ ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี
2. การสืบสานประเพณีตีพิ
(เผ่าลั๊วะ) หมู่ที่ 11
3. การสรงน้ำพระธาตุศรีดอนชัย
4.
ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ
5. ประเพณีเลี้ยงผีเมือง
6. ประเพณีปีใหม่ม้งหมู่ที่ 11
7. ประเพณีดงเซ้ง หมู่ที่ 11
3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญของตำบลงอบคือ
1. การรักษาโรคโดยใช้ยาสมุนไพร
หมอเป่า
2. การจักสานโดยใช้วัสดุจากไม้ไผ่
3.
ภาษาถิ่นที่สำคัญ คือ
4. ภาษาลื้อ หมู่ที่ 1,4,5,9,10
5. ภาษาขมุ
หมู่ที่ 2,3
6. ภาษาถิ่น
(ลั๊วะ) หมู่ที่ 6 , 7 , 11
7. ภาษาม้ง หมู่ที่ 11
4 สินค้าพื้นเมืองของที่ระลึก
1. ไม้กวาดดอกหญ้า จากกลุ่มถักไม้กวาดจากดอกก๋ง
บ้านห้วยสะแตง หมู่ที่ 2
2. ผ้าทอลายน้ำไหล จากกลุ่มทอผ้าบ้านทุ่งสุน หมู่ที่ 4
3.
พรมเช็ดเท้า เบาะรองนั่ง จากกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าบ้านงอบเหนือ หมู่ที่ 5
4. สุราแช่
(เหล้าอุ) จากกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร หมู่ที่ 6 บ้านน้ำลาด
10 ทรัพยากรธรรมชาติ
1 น้ำ มีแม่น้ำน่านเป็นสายหลัก และห้วย หนอง คลอง บึง
ในแต่ละพื้นที่ในเขตตำบลงอบ
2 ป่าไม้ สภาพป่าไม้เป็นป่าเบญจพรรณและป่าดิบเขา
อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา
3 ภูเขา
4 ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |